บันทึกอนุทินครั้งที่่
4
วันพฤหัสบดี ที่ 11 กันยายน 2557
วันนี้เป็นวันที่ได้ออกไปเล่าบทความ
รู้สึกตื่นเต้นและกังวลมาก บทความที่ดิฉันออกไปเล่าให้เพื่อนฟังมีชื่อว่า อพวช.ผนึกพันธมิตรจัดงาน"วันนักวิทยาศาสตร์น้อย"หวังปลูกความรักวิทยาศสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย จุดประสงค์ของงานก็เพื่อหวังปลูกความรักวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย
ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสิ่งต่างๆรอบตัวกับ 4 เรื่องราว ดิน น้ำ ลม ไฟ นายพิชัย สนแจ้ง
ผู้อำนวยการองค์กาพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้กล่าวในวันเปิดงานว่า
ในยุคปัจจุบันการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ
ต้องพยายามพัฒนาศักยภาพของประชากรด้วยการศึกษา รวมทั้งพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ
จากผลการประเมินระดับนานาชาติ เช่น Programme for International Student Assessment : PISA พบว่า
ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ
และประเทศไทยยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะขับเคลื่อนการพัฒนา
ซึ่งปัญหานี้ ทั้งภาครัฐ เอกชน หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งครูและผู้ปกครองต่างต้องตระหนักที่จะช่วยกันแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน
แต่ประเด็นที่สำคัญก็คือการสร้างทัศนคติและทักษะพื้นฐานที่ดีด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กวัยอนุบาล(3-6
ปี) เพราะเด็กวัยนี้จะมีความสามารถและการจดจำสูง เป็นวัยที่ต้องวางรากฐานที่ดี
และทำให้เขาประทับใจในวิทยาศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ อพวช.จึงได้ร่วมือกับ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยและหน่วยงานทั้งภาครัตน์และเอกชน
จัดงานนี้ขึ้นมาเพื่อปลูกฝังความรัก
ความประทับใจในวิทยาศาสตร์ จากการเรียนรู้ สังเกต คิดวิเคราะห์ ตั้งคำถาม และค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ
รอบตัวในโลกของเรา
มีบทความของเพื่อนอีก 3 บทความ ได้แก่
บทความที่ 1
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ครูปฐมวัยแสนเนื้อหามากเกินไปดดยผ่านการบอกเล่า
มากกว่าที่จะให้เด้กเรียนรู้เองตามธรรมชาติในสิ่งที่เด็กอยากรู้อยากเห็น
แต่ทั้งนี้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจะมุ่งเน้นให้เด็กรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากกว่า
บทความที่ 2 5 แนวทางการสอนเติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล
พูดถึงแนวทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
มี5 แนวทาง
1.ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง
2.ออกไปหาคำตอบด้วยกัน
3.เมื่อขั้นที่ 2 สำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง
4.นำเสนอสิ่งที่เขาตรวจสอบแล้ว
5.นำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบบนั้น
ไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
บทความที่ 3 สอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน
( Warming) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาวะโรคร้อน
คือให้เด้กช่วยกันคัดแยกขยะ
การนำไปประยุกต์ใช้
1.นำกิจกรรมบางกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนโดยกิจกรรมต้องทำคามความสนใจของเด็ก
2.ตั้งคำถามให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเองโดยผ่านกระบวนการณ์ทางวิทยาศาสตร์
การประเมินหลังการเรียน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกานเรียบร้อย วันนี้ตื่นเต้น
และประหม่ามากเนื่องจากนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังตอนไปนำเสนอบทความ
และร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นผ่านในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา
และช่วยขยายความรู้ต่อจากบทความทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในบทความที่นำเสนอมากขึ้น
ศึกษาแนวการสอนนะคะว่าครูประเมินอะไรบ้างBlog ครั้งที่4แล้วครูจะไม่บอกรายละเอียดในBlogนะคะ มีความรู้อะไรที่ได้จากครูบ้างละคะและ การสรุปมีความรู้ การประยุกต์ใช้แล้วยังมีอะไรอีกคะ คำศัพท์ภาษาอังกฤษทำอย่างไรให้มีมากกว่านี้คะ
ตอบลบ