Powered By Blogger

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดี ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557


ความรู้ที่ได้รับ



             วันนี้ทำกิจกรรมแผ่นพับประชาสัมพันธ์หน่วยที่เรียน เพื่อที่จะแจ้งให้ผู้ปกครองทราบว่าสัปดาห์นี้จะเรียนอะไร ซึ่งกลุ่มดิฉันได้ทำแผ่นพับ หน่วยนม ซึ่งทำเป็นแผ่นพับได้ดังนี้






ความรู้ที่นำไปใช้

1.ทำงานเป็นกลุ่มได้เป็นอย่างดี มีการแบ่งหน้าที่กันทำทำให้งานเสร็จตรงตามเวลา
2.สามารถเขียนแผ่นพับประชาสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้อง และสามรถนำไปใช้ได้จริง
3.สามารถขอความช่วยเหลือผู้ปกครองได้อย่างเหมาะสม

ประเมินการเรียนการสอน

ตนเอง มีความกระตือรือร้น เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ มีความสนใจในการเรียน

เพื่อน   เพื่อนๆตั้งใจเรียนไม่ค่อยคุย ให้ความสนใจการเรียนการสอนดี ตอบคำถามดี

อาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมการสอนดีทบทวนความรู้ให้นักศึกษา




สรุป VDO บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน ผงวิเศษช่วยชีวิต

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน ผงวิเศษช่วยชีวิต



การทดลอง
มีผงสีขาวให้ 2 ชนิด ให้เด็กๆลองสังเกตเปรียบเทียบลักษณะของผงทั้ง 2 อย่าง จากนั้นก็จะเทน้ำใส่ให้เด็กสังเกตหลังจากเทน้ำใส่ผงทั้ง 2 อย่าง ให้เด็กลองสัมผัส พอสัมผัสเสร็จให้เด็กๆเลือกว่าชอบอันไหน เด็กๆเลือกอันที่ 2 เพราะมีเนื้อที่แข็งกว่า จากนั้นเติมผงสีขาวลงไปอีก สังเกตการเปลี่ยนแปลง จากนั้นเอาผงขาวที่เด็กช่วยกันทำไปเทใส่ถาดพลาสติก จากนั้นให้เด็กๆลองเดินเหยียบ เด็กๆก็จะสังเกตว่าถ้าเด็กเดินผ่านเร็วๆจำทำให้รู้สึกเหมือนเดินบนพื้น ถ้าเด็กๆเดินช้าจะทำให้เท้าเด็กๆจม จากนั้นครูก็เฉลยว่าทั้งหมดเป็นเพราะคุณสมบัติของแป้งข้าวโพด


บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


ความรู้ที่ได้รับ

การนำเสนองานวิจัย ดังนี้

1.การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  ทักษะทางวิทยาศาสตร์ มี 4 ทักษะ
การสังเกต
การจำแนก
การวัด
มิติสัมพันธ์

2.ผลการจัดประสบการณ์เน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การประมาณ การเปลี่ยนแปลง ครูแนะนำกิจกรรมให้เด็ก
ส่องดูผ่านแว่น ให้เด็กวาดภาพ จากสิ่งที่มองเห็นและครูใช้คำถาม

3.การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
การคิดเชิงเหตุผล ให้เด็กได้ทดลองโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

4.ผลของกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก
ทักษะทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต การจำแนก การวัด การสื่อความหมาย การลงความเห็น  มิติสัมพันธ์

การนำเสนอโทรทัศน์ครู ดังนี้
1.   เสียงมาจากไหน
2.   สอนวิทย์ คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
3.   เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
4.  หน่วยไฟ
5.  ขวดปั๊มและลิปเทียน
6.  สีของกะหล่ำปลี
7.  พลังจิตคิดไม่ซื่อ
8.  นมสีจากน้ำยาล้างจานสำหรับเด็กปฐมวัย
9.  ทะเลฟองสีรุ้ง
10.  สนุกคิดวิทย์ทดลอง
11.  ทอร์นาโดมหาภัย
12.  ความลับของใบบัว
13.  การทดลองความแข็งของวัตถุ

การนำไปประยุกต์ใช้  (Apply)
1. นำวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2. นำเทคนิคการจัดกิจกรรมในวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอไปจัดให้เด็กได้
3. การใช้คำถามปลายเปิด

การประเมิน

ประเมินตนเอง  เข้าเรียนก่อนเวลา และ แต่งกายเรียบร้อยค่ะ

ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆแต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียน และ ตั้งใจตอบคำถามอาจารย์


ประเมินอาจารย์  วันนี้อาจารย์เข้ามาเตรียมสอนก่อนเวลา และ พูดเนื้อหาน่าสนใจ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้นำของเล่นที่ประดิษฐ์มาวางแยกเป็นหมวด
การนำเสนองานวิจัยของเพื่อนๆ ดังนี้
 1.การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการรับรู้
 2.ผลการบันทึกประกอบประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
ของเด็กปฐมวัย
 3.ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อให้เกิดทักษะการจำแนก
ของเด็กปฐมวัย
4.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
 การทำวาฟเฟิล

แบ่งกลุ่ม 8 คนและร่วมกันทำวาฟเฟิลโดยนำวัตถุดิบมาผสมกันและเข้าเครื่องอบ 





การนำไปประยุกต์ใช้ (apply)

- รู้จักนำของเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่น
- นำขั้นตอนการทำวาฟเฟิลง่ายๆไปสอนเด็กในกิจกรรมcookingในห้องเรียน
การประเมินผล
 ประเมินตนเอง  แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังเพื่อนเสนอวิจัย 
 ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆแต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจตอบคำถามอาจารย์ และ ตั้งใจทำกิจกรรม
 ประเมินอาจารย์  วันนี้อาจารย์เข้ามาเตรียมสอนก่อนเวลา มีอุปกรณ์การเรียนรู้ และแต่งกายเรียบร้อย



บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันพฤหัสที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 
  

ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนองานวิจัยของเพื่อนๆ มีดังนี้

1.การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา
ใช้เกมการศึกษามาใช้ในการวิจัยเพื่อเพิ่มทักษะการสังเกตให้้กับเด็กเมื่อได้เล่นเกมการศึกษา

2.ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังจากการเล่านิทาน
ใช้นิทานเพื่อนำมาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือ ทักษะการสังเกต การจำแนก และการสื่อสาร 
จากการใช้นิทาน
3.การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัย ใช้แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาเพื่อเปรียบเทียบทักษะทาง
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัยก่อนการทดลองและหลังการทดลอง

4.ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
เป็นการสอนเด็กเรื่องสีจากธรรมชาติโดยให้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ในการเรียนรู้ คือ ทักษะการสังเกต การจำแนก มิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็น

5.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ 
ใช้แผนโดยเน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยผ่านทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ คือ 
ทักษะการจำแนก การวัดปริมาณ มิติสัมพันธ์ และการลงความเห็น

6.การคิดวิจารณญานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 
เป็นการให้เด็กได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์คือ ทักษะการฟัง การสังเกต คิดแก้ปัญหาและทักษะการใช้เหตุผล

7.การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  
ใช้แผนการจัดกิจกรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อวิจัยการคิดอย่างมีเหตุผลหลังจากการทำกิจกรรม

การนำไปประยุกต์ใช้(Apply)

- ศึกษาวิจัยเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม
- ควรนำเรื่องใกล้ตัวเด็กมาทำการเรียนการสอน เด็กจะเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

การประเมินผล

ประเมินตนเอง  แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังเพื่อน และตั้งใจจดบันทึก

ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆแต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ไม่ค่อยคุย


ประเมินอาจารย์  วันนี้อาจารย์เข้ามาเตรียมสอนก่อนเวลา และแต่งกายเรียบร้อย

                               

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้รับ 
 
  1.กล้วย (banana)
2.ไก่ (chicken)
3. กบ(frog)
4.ปลา (fish)
5.ข้าว (rice)
6.ต้นไม้ (tree)
7.นม  (mile)
8.น้ำ (water)
9.มะพร้าว ( Coconut)
10.ผลไม้ (fruit)

นำเสนอแผน"นม"

วันที่ 1 สอนเรื่อง ชนิดของนม
วันที่ 2 สอนเรื่อง  ลักษณะของนม (เรื่องที่สอน)
วันที่ 3 สอนเรื่อง  ประโยชน์ของนม
วันที่ 4 สอนเรื่อง  ที่มาของนม
วันที่ 5 สอนเรื่อง  การแปรรูปของนม

สอนเรื่องลักษณะของ "นม"


วิธีดำเนินการ


ขั้นนำ Introduction
  - ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง "ดื่มนมกันเถอะ"
  - ครูและเด็กเต้นเพลง "ดื่มนมกันเถอะ"

ขั้นสอน Step instruction
   
- ครูนำนมหลายชนิดมาให้เด็กดู มีนมจืด นมเปรี้ยว นมช็อกโกแลต นมสตอเบอรี่
   - ให้เด็กๆสังเกตลักษณะนมแต่ละชนิด และให้เด็กบอกคามแตกต่างของนมแต่ละชนิด
   - เข้าสู่กิจกรรม  "มหรรษจรรย์นมเปลี่ยนสี"
   - ครูสาธิตการทดลองให้เด็กดู โดยนำนมจืดเทใส่ภาชนะ จากนั้นนำสีผสมอาหารมาหยดลงนมที่เทไว้
     ครูขอความช่วยเหลือจากเด็กๆ โดยขออาสาสมัครมาหยดน้ำยาล้างจาน ตรงที่หยดสีไว้  จากนั้นครู       และเด็กร่วมกันสังเกตการเปลี่ยนแปลงของนม

ขั้นสรุป conclusion
ครูถามคำถามจากเด็กและทวนความรู้ของเด็กถึงลักษณะของนม    


บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัน พฤหัสบดี ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2557


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)
 
   วันนี้อาจารย์นำการทดลองวิทยาศาสตร์หลายรูปแบบมานำเสนอให้นักศึกษาดู

การทดลองที่ 1 จมหรือลอย
อุปกรณ์ 
1.ดินน้ำมัน
2.โหลใสใส่น้ำ

วิธีการทดลอง

ปั่นดินน้ำมันเป็นวงกลมแล้วนำไปใส่โหลที่มีน้ำ ปรากฏว่าดินน้ำมันจมน้ำเพราะดินน้ำมันมีมวลมากไม่สามารถลอยน้ำได้ ทำยังไงหล่ะที่จะให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้ เลยลองเปลี่ยนรูปร่างของดินน้ำมันให้มีลักษณะเหมือนกะละมังคือปั้นให้มีขอบขึ้นมา แล้วเอาไปลอยน้ำใหม่ปรากฏว่าไม่จมน้ำ เพราะว่ามีอากาศเข้าไปอยู่ตรงกลางของดินน้ำมันเลยทำให้สามารถลอยน้ำได้



การทดลองที่ 2 ดอกไม้บนผิวน้ำ
อุปกรณ์ 
1.กระดาษ Paper
2.สี Colour
3.กรรไกร Scissors

วิธีการทดลอง
1.ตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้ตามที่ต้องการพร้อมระบายสีตกแต่งให้สวยงาม
2.กลับกลีบดอกไม้ให้โน้มมาตรงกลาง
3.นำดอกไม้ไปลอยน้ำปรากฏว่ากระดาษลอยน้ำและเคลื่อนไหวตามแรงลม น้ำก็ซึบซับเข้าไปในเนื้อเยื่อกระดาษ ทำให้กลีบดอกไม้ค่อยคลายตัวออกคล้ายกับว่าดอกไม้กำลังบานและสีก็ค่อยละลายออกมาที่ละนิดทำให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้นแล้วกระดาษก็ค่อยๆจมลง ในการทดลองต้องใช้กระดาษหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เด็กได้สังเกตอย่างหลายรูปแบบ 



การทดลองที่ 3 ใครไหลได้ไกลกว่ากัน
อุปกรณ์ 
1.ขวดน้ำพสาสติก
2.น้ำ water

วิธีการทดลอง
นำขวดน้ำมาเจาะรู 3 ระดับ (สุง กลาง ต่ำ) จากนั้นนำเทปกาวปิดรูที่เจาะไว้ นำน้ำมาเทใส่ให้เต็มและปิดฝาขวดให้สนิท ให้นักศึกษารอสังเกตว่ารูไหนจะไหลได้ไกลที่สุด 
  - เมื่อเปิดรูบนสุดปรากฎว่าน้ำไม่ไหล เพราะไม่มีแรงดันอากาศ และเมื่อเราเปิดฝาน้ำไหลแต่ไหลไม่แรง 
  - เมื่อเปิดรูกลางปรากฎว่า น้ำไหลแต่ไม่ไกลแม้ปิดฝาไว้น้ำก็ไหลอยู่เพราะแรงดันอากาสจากการเปิดฝาขวดครั้งแรก
  - และเมื่อเปิดรูข้างล่าง ปรากฎว่าน้ำไหลไกลสุดเพราะว่ามีแรงดันอากาศมากที่สุดจากการเปิดฝาขวดของ2ครั้งที่แล้ว




การทดลองที่ 4 น้ำผุแสนสนุก
อุปกรณ์
1.ขวดพลาสติก 
2.อุปกรณ์ทำน้ำพุ
3.กรวย Funnel

วิธีการทดลอง

เทน้ำใส้ไปในขวดและวางน้ำพุใหอยู่ระดับสูงกว่าขวด ปรากฎว่าน้ำไม่ไหลและได้ทำการทดลองอีกครั้งหนึ่งโดยคราวนี้จะวางขวดให้สูงกว่าน้ำพุ ปรากฎว่าน้ำไหลสูงมาก เพราะน้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำแล้วมีแรงดันออกมาเป็นน้ำพุ 



การทดลองที่ 5 มหัศจรรย์เทียนไข
อุปกรณ์ 
1.เทียน
2.ไม้ขีดไฟ
3.แก้ว
4.จาน

วิธีการทดลอง

จุดเทียนและนำแก้วมาครอบเทียน สังเกตการเปลี่ยนแปลงคือ เทียนค่อยๆดับลงเพราะว่าไม่มีอากาศเข้าไปข้างในทำให้ไฟดับและได้ทำการทดลองอีกครั้ง คือการนำน้ำมเทใสตรงจานและน้ำสามารถซึมเข้าไปในแก้วที่ครอบเทียนได้เนื่องการเกิดการแทนที่เกิดขึ้น


การทดลอง ที่ 6 มุมมอง
อุปกรณ์
1.แก้ว
2.ปากกา
3.น้ำ 

วิธีการทดลอง

เทน้ำใส้แก้วแล้วก็นำปาหหาใส่แก้ว สังเกตการเปลี่ยนแปลงคือ มองจากบนลงล่างเห็นเหมือนปากกาหัก เพราะการหักเหจากรอยตัดของระดับน้ำทำให้สายตามองออกมาได้หลายรูปแบบวัตถุจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นจากเดิม


ความรู้ที่นำไปประยุกต์ใช้ (Applied)
   
   การทำกิจกรรมการทดลองในวันนี้สามารถนำไปประยุกต์สอนเด็กปฐมวัยโดยให้เด็กได้สังเกตและลงมือกระทำการทดลองซึ่งเป็นเป็นการทดลองที่ง่ายๆขั้นตอนไม่ซับซ้อน แต่บางการทดลองครูต้องให้คำแนะนำและคอยช่วยเหลือเด็ก และการทดลองในวันนี้สามารถนำไปจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้กับเด็ก


ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)
   
 ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมและดูการทดลองที่อาจารย์ได้มานำเสนออย่างตั้งใจ จดบันทึกเทคนิคการสอนและคำแนะนำของอาจารย์

 เพื่อน :  เพื่อนให้ความร่วมมือให้การทำกิจกรรมการทดลอง ไม่ค่อยคุยกัน ร่วมกันสังเกตและตอบคำถามเป็นอย่างดี

 อาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและมีกิจกรรมที่หลากหลายมาสอนนักศึกษา เนื่องจากเป็นกิจกรรมการทดลองเลยทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ และอาจารย์ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นนักศึกษาได้คิดและตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา