Powered By Blogger

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557




ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )

วันนี้ได้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกนกระดาษทิชชู ซึ่งเป็นของเล่นที่ทำง่าย ขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อนและได้รับความรู้เรื่องของพลังงาน มีพลังงานศักย์ พลังงานจลน์ พลังงานสะสม ซึ่งเกี่ยวข้องกับของเล่นที่ทำกันวันนี้ ....

วัสดุอุปกรณ์ 

1. แกนกระดาษทิชชู
2. กรรไกร
3. กาว
4. ไหมพรม
5. สีสำหรับตกแต่ง
6. ที่เจาะกระดาษ
7.กระดาษเหลือใช้




ขั้นตอนการทำ Step by step

1.ตัดแบ่งครึ่งทิชชู บีบให้แบบสำหรับเจาะรู
2.นำที่เจาะกระดาษมาเจาะรูตรงกลางจะได้ 2 รู
3.ตัดไหมพรมประมาณ 1 เมตร และนำไปร้อยรูตรงแกนกระดาษทิชชูที่เจาะไว้ แล้วก็มัด
4.นำกระดาษมาตัดให้เป็นรูปวงกลมขาดเท่าแกนทิชชู พร้อมกับวาดรูปตามจิตนาการและตกแต่งให้สวยงาม
5.นำกระดาษที่ตกแต่งเสร็จมาติดที่แกนทิชชู

วิธีการเล่น
 
     นำของเล่นมาคล้องคอแล้วแล้วใช้มือทั้งสองจับที่ปลายไหมพรมขยับขึ้นลงไปมา สังเกตการเคลื่อนไหวของแกนกระดาษทิชชู
 
 ( Knowledge )

       พลังงานศักย์ +พลังงานจลน์ = พลังงานกล
เมื่อพลังงานในระบบคงที่ (พลังงานกล) คงที่แล้วพลังงานศักย์เพิ่มขึ้นพลังงานจลน์ลดลง แต่ถ้าพลังงานศักย์ลดลงพลังงานจลน์จะเพิ่มขึ้น **** Tick พอทำเชือกให้มีองศามากขึ้นแกนกระดาษทิชชูก็จะเคลื่อนที่ขึ้นลงเร็วขึ้น****

บทความวิทยาศาสตร์ (science article )
บทความที่ 1 สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์ เรื่อง "เป็ดกับไก่" 
             เป็นการใช้นิทานมาสอนเด็กให้ช่วยเหลือตัวเองได้ ทำงานเสร็จตามเวลา การสอนก็จะทำขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุปบทความที่ 2 จุดประกายเด็กนอกกรอบ
             เด็กประดิษฐ์ของเล่นได้ด้วยตนเอง ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
บทความที่ 3 ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก 
              เนื่องจากเด็กวัยนี้เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นบุคคลที่ดูแลควรส่งเสริมให้เขาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว
บทความที่ 4 สอนเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ 
             กรพตุ้นให้เด็กเชื่อมโยงความรู้ ความเปลี่ยนแปลง > ความแตกต่าง > การปรับตัว > การพึ่งพาอาศัยกัน
บทความที่ 5 สอนลูกเรื่องอากาศ
             สอนลุก อากาสเป็นสิ่งรอบตัว อากาศเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษยื อากาศช่วยในการหายใจ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

             การสอนเด็กทำของเล่นวิทยาศาสตร์เน้นที่เด็กทำเองได้ ขั้นตอนไม่ซับซ้อนเพื่อกระตุ้นใให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรค์และจินตนาการ เด็กสามรถเชื่อมโยงความรู้ได้และสร้างทัศนติให้เด็กๆมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุกสนาน

การประเมินการเรียนการสอน

ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และจดความรู้ที่อาจารย์ให้

เพื่อน  เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังอาจารย์มีการโต้ตอบสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างสนุกสนานให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างดี

อาจารย์  อาจารย์สอนทำของเล่นที่ทำง่าย และอธิบายความรู้ที่ทำให้เข้าใจง่าย และอาจารยืใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจการเรียนตลอดเวลาทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นไปด้วยความสนุกสนาน
       
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น